All for Joomla All for Webmasters
Want create site? Find Free WordPress Themes and plugins.

‘มจร-วธ.’ติวพระสอนศีลธรรมแนวศาสตร์พระราชา แนวทางการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาด้วยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

วันที่ 29 พฤษภาคม 2560 สำนักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย(มจร) ร่วมกับกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ภายใต้กองทุนส่งเสริมเผยแผ่พระพุทธศาสนาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา จัดโครงการพัฒนาสมรรถนะพระสอนศีลธรรมตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อชี้แจงแนวทางการส่งเสริมหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริในการพัฒนาสังคมและชุมชน ที่ มจร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา
ภายในงานมีการเสวนาในหัวข้อ “แนวทางการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาด้วยหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา โดยพระราชธรรมนิเทศหรือพระพยอม กัลยาโณ เจ้าอาวาสวัดสวนแก้ จ.นนทรี ดร.อภิชัย พันธุเสน นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและพระพุทธศาสนา

 

พระพรหมบัณฑิต อธิการบดี มจร บรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “พระพุทธศาสนากับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” ความว่า ปัจจุบันนี้คนที่รู้จักปรัชญาพอเพียงถือว่าเป็นคนไม่ตกสะพาน  การพัฒนาที่ยังยืนคือการที่รถวิ่งไปไม่ตกสะพาน  เวลารถวิ่งไปข้างหน้าต้องมีระบบป้องกันหรือภูมิคุ้มกัน คือ ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงเน้นย้ำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเมื่อปี 2541  เมื่อคราวค่าเงินตก ทรงย้ำเตือนคนไทย เมื่อเกิดเหตุทุกคนถึงได้ตระหนักเห็นความสำคัญ
“ทิศทางประเทศไทยปัจจุบันจะเดินตามรอยเดิมหากไม่ตระหนักถึงความพอเพียง ก็จะเกิดเศรษฐกิจบนความฝันเกิดฟองสบู่อีก ขณะที่วิชาเศรษฐกิจทางโลกเน้นความไม่พอเพียงเพื่อให้สินค้าบริการตนขายได้ ดังนั้นเศรษฐกิจพอเพียงกับเศรษฐศาสตรแนวพุทธไปด้วยกันได้อย่างไรนั้น  อันดับแรกจะต้องเข้าใจธรรมชาติมนุษย์เนื่องจากคำโบราณว่า “แม่น้ำเสมอเหมือนตัณหามนุษย์ไม่มี”  การสอนเศรษฐกิจพอเพียงต้องคำนึงถึงเราพูดถึงความพอประมาณหรือความพอใจ เป็นความรู้สึก วัดควรมีมาสเตอร์แพลน ไม่ได้สร้างด้วยความโลภ  ไม่พัฒนาวัดด้วยความโลภ”  อธิการบดี มจร กล่าวและว่า
มจร ไม่เอาถ้าไม่ตรงกับมาสเตอร์แพลน  พระจะสอนเรื่องนี้อย่างไรนั้นจะต้องพัฒนาหลักสูตรร่วมกัน  การแปลงแผนยุทธศาสตร์มาสู่การปฏิบัติอย่างไร เกณฑ์ชี้วัดเศรษฐกิจพอเพียงภูฐาน คือ ดัชนีความสุขของประชาชน  มจร ทำแผนเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อเป็นคู่มือให้พระสอนศีลธรรม ทำแผนการสอน กิจกรรม วัฒนธรรมเศรษฐกิจพอเพียง  ยุคการสื่อสาร ทำให้มนุษย์ไม่รู้จักพอเพียง
ทั้งนี้มีตัวอย่างของการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาฝึกปฏิบัติสอดแทรกหลักธรรมในพระพุทธศาสนา คือ “ฟาร์มสันติวิถีพอเพียง” ตั้งอยู่บนพื้นที่เพียง 4 ตารางวาหน้าบ้านพักเลขที่ 65/76  หมู่ 3  ต.บางใหญ่ อ.บางใหญ่ จ.จังหวัดนนทบุรี โดยได้ศึกษาความรู้แนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฎีใหม่ เกษตรอินทรีย์ ฝึกปฏิบัติการทำบ้านดิน และวิสาหกิจชุมชนที่เขาฉกรรจ์ จ.สระแก้ว ของดร.เกริก มีมุ่งกิจ บนพื้นที่ 50  ไร่ ได้เข้าใจเกี่ยวกับการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงแบบครบวงจร จึงได้เริ่มลงมือปฏิบัติจริงบนพื้นที่ 4  ตารางวาควบคู่กับกับการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมไปเรื่อยๆ อุปกรณ์ที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานของฟาร์มอยู่ภายใต้แนวความคิดที่จะนำวัตถุที่มีอยู่มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มากที่สุด พร้อมกันนี้ได้นำวัตดุที่มีบุคคลนำมาทิ้งในพื้นที่ส่วนบุคคลริมถนนทางเข้าหมู่บ้านตรงกันข้ามอย่างเช่นไม้ ไม้ไผ่ ต้นกล้วย กระถางปลูกต้นไม้ มุ้ง ขวดน้ำ ขี้เลี้อย หญ้าแห้ง จึงเรียกของเหล่านี้ว่า “อุปกรณ์อริยะ” จากแนวคิดจากการทำจีวรนุ่งห่มของพระภิกษุในสมัยพุทธกาลที่หามาได้จากผ้าบังสกุล โดยที่พระพุทธเจ้าทรงสนับสนุนให้พระภิกษุในพระพุทธศาสนามีการดำรงชีวิตที่เรียบง่าย และใช้พื้นที่ๆมีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์ที่สุดอย่างเช่นระเบียงบ้าน หลังคา และจากแนวคิด “บัว 4  เหล่า” มองเห็นทุกส่วนมีประโยชน์แม้จะมีโทษบ้างก็สามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ อย่างน้อยก็สามารถนำมาทำปุ๋ยมีประโยชน์กับพืชได้เป็นฐานคิดเชิงบวก ซึ่งอุปกรณ์โครงสร้างพื้นฐานหามาได้เหล่านี้จากต้นทุนคือ “ศูนย์” สุดประหยัด หลังจากนั้นนำมารื้อถอนประกอบสร้างแล้วบูรณาการตามหลักอริยสัจโมเดลและปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
พร้อมกันนี้ใช้แนวคิดแบบกล้วยๆ คือ “ง่ายๆ” หากยากแสดงว่า “ผิด” เพราะกล้วยเป็นพืชที่ทรงคุณค่าพื้นฐานของมนุษย์สามารถนำทุกส่วนมาใช้ประโยชน์โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำหมักหน่อกล้วยนำมาประยุกต์ใช้กับเกษตรอินทรีย์ได้เป็นอย่างดี และยังเป็นพืชที่เก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้วได้เป็นอย่างดี

อันดับแรกคือการทำนาปลูกข้าวตั้งเริ่มตั้งแต่วันที่  14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560  จากข้าวที่ได้รับแจกจากการเข้าไปกราบพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชครึ่งหนึ่ง โดยสาธิตทั้งปลูกในกระถาง ในเรือ บนดินและขุดเป็นร่องน้ำแล้วเอากระถางที่ปลูกแช่พืชที่นำมาปลูกเพิ่มอย่างเช่น มะระ ถั่ว กล้วย ฟังทอง พริก ผักโขมแดง ผักกาด ผักกว้างตุ้ง ผักสลัด โดยมีแนวคิดที่จะเลือกพืชที่มีผลผลิตที่ออกมาเป็นโทนสีแดงหรือม่วง

ปุ๋ยที่ใช้เป็นปุ๋ยมูลไส้เดือนที่ซื้อมาจำนวน 1  กิโลกรัม และฝึกการเลี้ยงไส้เดือนพันธุ์เอเอฟจำนวน 1  กิโลกรัมทำให้เกิดแนวความคิดเกี่ยวกับปุ๋ยธรรมชาติที่ครบวงจรคือปุ๋ยที่เกิดจากมูลวัวที่ให้ผลผลิตทางใบ หมูให้ผลผลติทางหัว ไก่ให้ผลผลิตทางผล ขณะที่มูลไส้เดือนเป็นปุ๋ยเย็นและสมดุลมีจุลทรีย์และธาตุอาหารที่ให้ผลผลิตครบทั้ง ๓ ด้านและสามารถพัฒนาเป็นเชิงธุรกิจได้ทั้งตัวไส้เดือน มูล และน้ำเหงื่อ สามารถนำมาทำเป็นน้ำหมักมูลไส้เดือนฉีดพ่นพืช และมีสรรพคุณดับกลิ่นปรับสภาพน้ำ และทำให้ผิวมนุษย์สดชื่น ขณะเดียวกันไส้เดือนเป็นสัตว์ตรงตามหลักการของสันติวิธีคือเป็นสัตว์เลือดเย็นที่ชอบอาหารเย็นไม่ร้อน อาศัยปัจจัยทั้งน้ำ อาหาร สภาพแวดล้อมที่สมดุล ไส้เดือนที่ทรงคุณค่ากับพืชและสัตว์ และเป็นหลักคิดในการสร้างความปรองดองได้
ทุกขั้นตอนและทุกวันของการลงมือปฏิบัติจะมีการถ่ายภาพลงเฟซบุ๊กส่วนตัว โดยมีผู้สนใจติดตามจำนวนหนึ่ง พร้อมกันนี้ทั้งญาติและเพื่อนนิสิตสันติศึกษาได้ถามความคืบหน้าและเป็นพูดคุยอยู่บ่อยครั้ง ซึ่งเป็นตัวชี้วัดหนึ่งของฟาร์มสันติวิถีพอเพียงพร้อมกันนี้มีแนวความคิดที่จะขยายฟาร์มสันติวิถีพอเพียงไปที่อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งเป็นพื้นที่ของน้องสาวจำนวน 30  ไร่ หลังจากได้ฝึกปฏิบัติผ่านไป 1  ปีแล้ว
ฟาร์มสันติวิถีพอเพียงเป็นรูปแบบของเกษตรอินทรีย์สิถีพอเพียงเชิงพุทธที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของศีล 5  ผลิตดอกออกช่องสะอาดทั้งด้านสุขกายพฤติกรรมที่สัมพันธ์กับสังคมมีจิตอาสาเพิ่มพูนด้วยปัญญาที่รู้คู่คุณธรรมอย่างเข้าใจเข้าถึงพร้อมที่จะเป็นรูปแบบที่พัฒนาตามโมเดล “บวร” บ้านวัดโรงเรียนหรือโรงแรม อย่างพอเพียงสมดุลสมเหตุสมผลและมีภูมิต้านทานความเสียง อันจะเป็นรูปแบบที่พัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นสมาร์ทฟาร์มอริยะที่ใช้อุปกรณ์ที่ประหยัดสุดคุ้มค่าสุดจะไม่สร้างความสุขสำเร็จที่ต้องทำร้ายหรืิอเบียดเบียนคนอื่นแต่จะเป็นฟาร์มที่รู้จักแบ่งปันไม่ทรมานตนและคนอื่นจะไม่ใช้วิธีการชวนเชื่อตามทฤษฎีเข็มฉีดยาอัดข้อมูลจนผู้รับข้อมูลเชื่อแต่จะมุ่งเสริมปัญญาเป็นบริโภคที่ชาญฉลาดเป็นที่ตั้ง

 

โดยสามารถติดตามความก้าวหน้าของ“ฟาร์มสันติวิถีพอเพียง” ได้ที่เฟซบุ๊ก  Samran Sompong 

Did you find apk for android? You can find new Free Android Games and apps.
Share.